สารอนุมูลอิสระในร่างกายคืออะไร?

ร่างกายของคนเราในปัจจุบันพบกับปัจจัยเสี่ยงในการรับสารพิษมากมาย ทั้งจากมลภาวะที่เป็นพิษ ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่นละอองตามท้องถนน ควันบุหรี่ รวมถึงอาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว แสงแดด ความร้อน สารพิษเหล่านี้ได้แปรสภาพเป็นสารที่มีอิเล็กตรอนเชิงเดี่ยวในโมเลกุล หรือที่เราเรียกว่า “สารอนุมูลอิสระ (Free radical)” สารดังกล่าวเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคต่อร่างกายมากมาย ทั้งโรคภูมิแพ้ โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ โรคชราที่ครอบคลุมตั้งแต่ริ้วรอยบนใบหน้าตลอดจนไปถึงริ้วรอยก่อนวันอันควร โรคข้ออักเสบ หรือความจำเสื่อมเป็นต้น วิวัฒนาการของอนุมูลอิสระสามารถเข้าไปทำลายถึงระบบเซลล์เนื้อเยื่อ จนเป็นต้นเหตุของโรคมะเร็งที่พวกเรารู้จักกันเป็นอย่างดี

อนุมูลอิสระที่ร่างกายของเราสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติ

อนุมูลซุปเปอร์ออกไซด์ (Superoxide anion)
อนุมูลไฮดรอกซิล (Hydroxyl radicle)
อนุมูลเปอร์ออกซี (ROO Peroxy radicle)
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2 Hydrogen Peroxide)
ลิปิดเปอร์ออกซี (Lipid Peroxyl)

อนุมูลอิสระในร่างกายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่างๆตามมาอีกมากมาย ดังนั้นเราจึงควรที่จะเพิ่มปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระให้กับร่างกายของเราอย่างเป็นประจำ

ร่างกายของเรามีกลไกในการจัดการสารอนุมูลอิสระอย่างไร?

โดยปกติร่างกายของคนเรามีกลไกและการกำจัดสารอนุมูลอิสระนี้ได้ด้วยการสร้างสารที่เรียกว่า “สารต้านอนุมูลอิระ (Antioxidant)” ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณสารอนุมูลอิสระให้อยู่ในภาวะสมดุล ช่วยในการดักจับอนุมูลอิสระ การลดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในเซลล์ และการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาการทำงานของเซลล์

การสร้างเอนไซม์ภายในร่างกายเพื่อจัดการกับสารอนุมูลอิสระ

เอ็นไซม์ที่ร่างกายของเราสามารถสร้างขึ้นมาได้เอง เช่น เอ็นไซม์ Superoxide dismutase (SOD) และ เอ็นไซม์ Catalase glutathione peroxidaes แต่อย่างไรก็ตามร่างกายของคนเรานั้นมักจะสร้างเอ็นไซม์ชนิดนี้ไม่เพียงพอ เหตุเนื่องมาจากการที่เรามีอายุมากขึ้นกระบวนการสร้างเอ็นไซม์เหล่านี้ในร่างกายของเราก็จะลดลง ซึ่งในขณะที่อัตราการเกิดของสารอนุมูลอิสระภายในร่างกายยังคงมีปริมาณเท่าเดิม

การสร้างสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารที่รับประทานเข้าไป

การบริโภคอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระโดยส่วนใหญ่จะพบได้ในพืช ผัก หรือผลไม้ เช่น แครอท องุ่น ใบแปะก๊วย เบอร์รี่ กะหล่ำ มะละกอ พริกชี้ฟ้า คะน้า มะม่วงสุก น้ำมันถั่วเหลือง เมล็ดอัลมอนด์ และจมูกข้าวสาลี นอกจากนี้ยังพบได้ในอาหารทะเล และอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์อีกด้วย อาหารเหล่านี้มีสารที่ประกอบไปด้วยวิตามินเอ วิตามินอี วิตามินซี กรดไลโปออิก กลูต้าไธโอน ลูทีน ไลโคปีน เบต้าแคโรทีน และอื่นๆอีกมากมาย สารต้านอนุมูลอิสระในพืชเหล่านี้ถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในธรรมชาติที่เราสามารถหารับประทานได้โดยง่าย ทั้งนี้สิ่งที่บ่งบอกว่าร่างกายของเราได้รับสารอนุมูลอิสระมากไป ในขณะที่ร่ายกายไม่สามารถสร้างสารต้านอนุมูลอิสระมายับยั้งได้ทันคือ อาการเหนื่อยง่าย ผิวเสื่อมสภาพและริ้วรอยที่มาก่อนวัย

การรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะช่วยป้องกันการเกิดริ้วรอย และโรคภัยต่างๆอีกมากมาย ที่เกิดจากสารอนุมูลอิสระภายในร่างกายของเรา

ปัจจัยเสริมที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระในร่างกายอย่างรวดเร็ว

– การรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่าง
– อาหารที่มีไนไตร์ทสูง
– การสูบบุหรี่หรือการได้รับบุหรี่มือสอง
– ความเครียดสะสมทั้งจากการทำงานและการเดินทาง
– ความอ่อนแอของร่างกาย
– การพักผ่อนไม่เพียงพอ
– การละเลยการออกกำลังกาย
– การดื่มน้ำที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ดังนั้นเราควรใส่ใจในสุขภาพของเราเองมากขึ้น หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าดังกล่าว เราต้องหาสิ่งที่เรียกว่าตัวช่วย ได้แก่ อาหารเสริมที่มีวิตามิน หรือสารอาหารที่จำเป็น โดยปัจจุบันได้มีอาหารเสริมที่เพิ่มขึ้นมาอย่างมากมายในท้องตลาดให้เราได้เลือกสรร ทั้งนี้การเลือกรับประทานอาหารเสริมประเภทใดควรขึ้นอยู่กับขณะนั้นเราขาดสารอาหารประเภทใดเป็นสำคัญ หรือเราสามารถขอคำแนะนำการทานอาหารเสริมดังกล่าวจากแพทย์ นอกจากการเสริมสร้างจากภายในแล้ว เรายังสามารถรักษาสภาพผิวที่เปลี่ยนแปลงจากภายนอกร่วมกับการใช้ IPL (Intense Pulsed Light) รักษาริ้วรอยบนใบหน้า จุดด่างดำ หรือสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอทั่วร่างกาย ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินใต้ผิวหนัง ช่วยให้ริ้วรอยดูเล็กลง ซึ่งเป็นตัวช่วยที่ตรงจุดและไม่ส่งผลกระทบทางลบกับผิวของเรา โดยการใช้ IPL นั้นควรทำอย่างสม่ำเสมออาทิตย์ละ 2 ครั้ง เพื่อผลลัพธ์ที่น่าพอใจ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *