นอกจากสิวที่เป็นปัญหาคอยบกวนใจที่สำคัญของผู้หญิงแล้ว อีกหนึ่งปัญหาผิวบนใบหน้าที่รบกวนใจสาวๆคงไม่พ้น ฝ้า และ กระ นั่นเอง โดยความแตกต่างกันของฝ้าและกระ คือ ฝ้าจะมีลักษณะเป็นแผ่น ซึ่งมักจะเกิดขึ้นบริเวณทั้ง 2 ข้างของใบหน้า อย่างเช่น โหนกแก้ม จมูก หน้าผาก หรือแถวบริเวณหนวดเหนือริมฝีปากส่วน แต่ถ้าเป็น กระ นั้นจะมีลักษณะเป็นจุด อยู่บริเวณใต้ผิวหนังโดยเฉพาะใบหน้า หรือแขน
ซึ่งในวันนี้เรามาทำความรู้จักกับกระกันก่อน เนื่องจากหลายๆคนสงสัยว่า “กระ คืออะไร ?” กระ คือ จุดสีน้ำตาล หรือ ดำ ที่มีลักษณะแบนราบ หรือ เป็นตุ่มนูน กระจายอยู่บริเวณผิวหน้า ลำคอ หรือตามร่างกายบริเวณที่โดนแสงแดดได้ เกิดจากความผิดปกติของ เมลานิน (Melanin) ที่ไม่สามารถทำหน้าที่ป้องกันแสงแดดได้ ซึ่งมีหลายสาเหตุอันทำให้เกิดกระตามชนิดของกระ ได้แก่ อายุ แสงแดด พันธุกรรม เป็นต้น
กระ เกิดจาก เม็ดสีเมลานิน (Melanin pigment) ทำงานผิดปกติจนทำให้บริเวณนั้น ๆ ทำให้ผิวสีเข้มขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของเม็ดมาลานิน ส่วนมากจะเกิดมาจาก แสงแดด และ พันธุกรรม
กระมี 4 ประเภทด้วยกัน คือ
1.กระตื้น (Freckle) มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเล็กๆ ผิวเรียบ ขนาดประมาณ 0.5 มิลลิเมตร กระจายอยู่บริเวณใบหน้าและลำคอ กระชนิดนี้หากผิวโดนแสงแดดเป็นเวลานานๆ กระจะมีสีเข้มขึ้น และหากหลีกเลี่ยงแสงแดดเป็นเวลานานๆกระก็จะมีสีจางลงได้เอง พบบ่อยในคนผิวขาว และอาจเป็นตั้งแต่อายุน้อยๆได้
วิธีรักษา : ใช้ยาทา ที่มีส่วนผสมของสาร ไฮโดรควิโนน, อาร์บูติน และ วิตามิน ซี เป็นต้น / ทำ Treatment / แต้มด้วยน้ำยา TCA / การทำ IPL
2.กระลึก (Nevus of Hori) มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเทาๆ เล็กๆรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก ลึกลงไปใต้ผิวหนัง มักพบบริเวณโหนกแก้มทั้ง 2 ข้าง และขมับ พบในคนเอเชียที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป
วิธีรักษา : การทำเลเซอร์ที่จำเพาะกับเม็ดสี คือ Q-Switched LASER (Ruby, Nd:YAG) แต่ต้องทำเลเซอร์จำนวนหลายครั้ง (มากกว่า 5 ครั้ง) โดยมีระยะห่างระหว่างการรักษาแต่ละครั้งประมาณ 2-3 เดือน แต่ข้อดีของกระลึกคือเมื่อรักษาแล้วมักจะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก
3.กระแดด (Solar Lentigo) จะมีลักษณะเป็นจุดสำน้ำตาล ผิวเรียบ ขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร กระจายอยู่บริเวณใบหน้าหรือบริเวณนอกร่มผ้าอื่นๆ เช่น กระที่แขน เป็นต้น โดยแสงแดดเป็นสาเหตุหลักของกระชนิดนี้ ซึ่งกระแดดจะมีสีเข้มขึ้น เมื่อถูกแสงแดด และเมื่ออายุมากขึ้น มักพบในวัยผู้ใหญ่และผู้ที่อยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานานๆ
วิธีรักษา : คล้ายๆกับ กระตื้น โดยสามารถ ใช้ยาทา ที่มีส่วนผสมของสาร ไฮโดรควิโนน, อาร์บูติน และ วิตามิน ซี เป็นต้น / ทำ Treatment / แต้มด้วยน้ำยา TCA / การทำ IPL ซึ่งกระแดดนั้นสามารถรักษาให้หายเพียงครั้งเดียวด้วยการทำเลเซอร์ ส่วนการทายานั้นไม่สามารถทำให้หายขาดได้ และมักจะกลับมาเป็นซ้ำอีก
4.กระเนื้อ (Seborrheic Keratosis) มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อนูนออกมาเป็นตุ่ม ผิวเรียบหรือขรุขระยื่นออกมาจากผิวหนังบริเวณใบหน้า ลำคอ หรือลำตัว มักมีสีน้ำตาลหรือสีดำก็ได้ ซึ่งกระชนิดนี้ มีสาเหตุเกิดจากพันธุกรรม พบในคนอายุ 30-40 ปีขึ้นไป
วิธีรักษา : การทำเลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide laser) แต่ธรรมชาติของกระเนื้อนั้นมักจะกลับมาเป็นซ้ำอีก หรือในบริเวณใกล้เคียงได้
วิธีการรักษากระให้ได้ผล
วิธีการดูแลรักษากระนั้น เนื่องจากไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการทายาเพียงอย่างเดียว โดยที่การทายามีส่วนผสมของสาร ไฮโดรควิโนน, อาร์บูติน กรด AHA และ วิตามิน ซี นั้น จะช่วยให้ความเข้มของกระมีสีจางลงได้เท่านั้น ซึ่งวิธีการรักษากระที่ได้ผลดีที่สุดในปัจจุบันคือการรักษากระด้วยเลเซอร์ชนิดต่างๆตามประเภทของกระที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นนั้น สิ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการหาวิธีการรักษากระ คือการดูแลรักษาและป้องกันใบหน้าของเราให้พ้นจากมลภาวะที่ทำให้เกิดกระ คือการทาครีมกันแดด พร้อมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงแสงแดดหรือสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดดให้มากที่สุด เพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดกระ ไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีกได้
นอกจากการรักษากระแล้ว การป้องกันไม่ให้เกิดกระขึ้นบนผิวหน้าของเราก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะหากเปล่อยให้เกิดเป็นกระขึ้นมาบนผิวแล้ว การรักษาจะยากและใช้เวลาเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราจึงควรที่จะทำให้ผิวมีสุขภาพดีที่สามารถช่วยป้องกันการเกิดกระต่างๆได้ด้วยการทำ IPL เพื่อเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันให้กับผิวของเรา นอกจากนั้นการทำ IPL ยังสามารถที่จะช่วยบังรุงและปกป้องจากปัญหาผิวต่างๆที่ได้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็น สิว, รอยสิว, ริ้วรอย, จุดด่าง, รูขมขน และ ผิวแพ้ง่าย ไปได้พร้อมๆกัน
การใช้ IPL ในการรักษากระนั้นไม่เป็นการทำร้ายผิว และยังช่วยฟื้นฟูบำรุงผิวให้มีสุขภาพดีไปได้พร้อมๆกับการรักษา ซึ่งจะแตกต่างกับการทำเลเซอร์ที่ยิงแสงที่มีความเข้มข้นสูงลงไปทำลายเซลล์ผิวในส่วนที่เป็นกระโดยตรง
สำหรับกระลึก มีข้อดีอย่างหนึ่งคือกระชนิดนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยสามารถทำการรักษาได้ด้วยเลเซอร์ระบบ Q-Switched LASER แต่ต้องทำเลเซอร์จำนวนหลายครั้ง (มากกว่า 5 ครั้ง) โดยมีระยะห่างระหว่างการรักษาแต่ละครั้งประมาณ 2-3 เดือน ส่วนของกระชนิดสุดท้าย กระเนื้อนั้นสามารถรักษาได้ด้วยการทำเลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ โดยธรรมชาติของกระเนื้อนั้นจะสามารถเป็นได้อีกบริเวณเดิมหรือบริเวณใกล้เคียง ซึ่งมีสาเหตุอันเนื่องจากพันธุกรรมที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้