วงจรการเกิดขนของร่างกาย และวิธีการกำจัดขนถาวรที่ดีที่สุด

หากพูดถึงโปรแกรมการขายหลักๆของสถานเสริมความความในประเทศไทยแล้วละก็ เราต้องพบโปรแกรมการกำจัดขนอย่างแน่นอน นั่นแสดงให้เห็นว่า “ขน” ตามร่างกายของคนเราเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ ใช่หรือไม่ แล้วขนเหล่านี้เกิดมาเพื่ออะไรหล่ะ หรือแม้กระทั่งเราจะทำอย่างไรเมื่อเกิดขนขึ้นบริเวณที่เราไม่พึงปรารถนา ในวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆเหล่านี้กัน ว่าปํญหาของเส้นขนตามร่างกายของเรานั้นจะมีวิธีการจัดการกับเส้นขนเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง และเราควรที่จะเลือกการกำจัดขนในช่วงไหนจึงจะได้ผลดีมากที่สุด

“ขน” จะเกิดขึ้นบริเวณหนังกำพร้าชั้นลึก ประกอบไปด้วย รูขุมขน รากขน และเส้นขน โดยรูขุมขนจะอยู่บริเวณหนังกำพร้าและหนังแท้ มีต่อมไขมันล้อมรอบทำให้เกิดรูปทรงของรากขนซึ่งจะเรียงตัวแนวเฉียง จะมีเพียงเส้นขนเท่านั้นที่ยื่นออกมานอกผิวหนัง

ส่วนของเส้นขนสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ดังนี้

ผิวชั้นนอกสุด หรือเกล็ดผม (outer cuticle)

มีลักษณะเป็นเกล็ดแบนเรียงซ้อนกัน หนาประมาณ 0.8 ไมครอน ประกอบด้วยเคราติน (keratin) ช่วยให้รากผมแข็งแรง ป้องกันสิ่งสกปรกซึมผ่านเข้าไปทำลายเส้นผม และยังปกป้องผมเนื้อผมชั้นนอกและชั้นในไม่ให้เสียความชุ่มชื้นอีกด้วย

เนื้อขนชั้นนอก (Cortex)

มีลักษณะของเส้นใยโปรตีนรูปกระสวยเรียงกันตามแนวยาวซ้อนทับกัน หนาประมาณ 60-80 ไมครอน เส้นใยโปรตีนดังกล่าวจะสร้างความยืดหยุ่นให้เส้นขน รวมทั้งยังพบเม็ดสี (melanin) ซึ่งเป็นตัวกำหนดสีตามธรรมชาติตามพันธุกรรมของแต่ละบุคคล

เนื้อขนชั้นใน (Medulla)

เป็นส่วนของแกนเส้นขนอยู่ชั้นในสุด มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเรียงซ้อนกัน 3-4 ชั้น ทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นในเส้นผม

ปัญาหาขนดกเกิดจากอะไร

ด้วยคุณสมบัติของเส้นขนที่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบหลักนี้เอง จึงมีคุณสมบัติไม่นำความร้อน ช่วยปกป้องผิวจากแสง UV หรือสามารถรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง อย่างไรก็ตามลักษณะขนที่สร้างปัญหารำคาญใจให้กับเราคือ ขนประเภทหยาบ หนา แข็ง ยาว สีเข้ม หรือที่เราเรียกว่า terminal ต่างกับขนมีลักษณะละเอียด นิ่ม สีอ่อน หรือที่เรียกว่า vellus ซึ่งลักษณะของเส้นขนจะเป็นเช่นไรนั้นขึ้นอยู่กับ ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) เป็นหลัก โดยปกติแล้วฮอร์โมนดังกล่าวจะอยู่ในภาวะสมดุล และมีในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเราสามารถพบอาการ “ขนดก” (Hirsutism) ในเพศหญิงได้เพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุด้วยกันอาทิ ภาวะถุงน้ำในรังไข่ ภาวการณ์ทำงานผิดปกติของต่อมหมวกไต ภาวะเนื้องอกในรังไข่ หรือแม้กระทั่งได้รับยาที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนแอนโดรเจนที่มากเกินไป ฯลฯ

จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า ร้อยละ 70% ของผู้หญิงที่มีภาวะ “ขนดก” นั้น จะสามารถพบอาการของภาวะ ถุงน้ำในรังไข่ (Polycystic Ovary Syngrome : PCOS) ร่วมด้วย อาการดังกล่าวมักเกิดขึ้นกับผู้ที่อยู่ในวัยเจริญพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจน จากต่อมหมวกไต และรังไข่เพิ่มมากขึ้น เราสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ง่า
จากการที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ และมีเส้นขนตามร่างกายที่หนา แข็ง และหยาบกระด้างมากผิดปกติ ดังนั้นหากภาวะ ขนดกเกิดขึ้นในกรณีที่กล่าวไปแล้วนั้น แพทย์จะแนะนำให้ลดน้ำหนักเป็นอันดับแรก เนื่องจากค่าอินซูลิน (Insulin) จะแปรผันตรงกับปริมาณของฮอร์โมนแอนโดนเจนในกระแสเลือดเช่นกัน และอาจได้รับยาลดระดับอินซูลินควบคู่กันไป ถึงแม้เราควรให้ความสำคัญกับการรักษาอาการที่ต้นเหตุไปแล้ว แต่เส้นขนที่ยังคงงอกอย่างต่อเนื่องก็ต้องหาวิธีกำจัดออกไปเช่นกัน เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ตนเอง อีกทั้งยังสามารถดูแลความสะอาดได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย ก่อนที่เราจะไปทราบวิธีกำจัดเส้นขนนั้น ในเบื้องต้นเราควรทราบวงจรชีวิตของเส้นขนให้มีความเข้าใจเสียก่อน เพื่อการกำจัดขนที่มีประสิทธิภาพ และยังสามารถช่วยในการชะลอขนที่จะขึ้นใหม่ให้ช้าลง

วงจรชีวิตของเส้นขนบนร่างกายของคนเรามีดังนี้

ระยะ Anagen (growth phase)

เป็นระยะที่อยู่ในช่วงการเจริญเติบโต หรือมีการงอกอย่างเต็มที่ หลังจากงอกแล้วจะมีอายุนาน 2-3 ปี หากไม่มีปัจจัยมาทำให้ร่วง อาทิ รูขุมขนอักเสบ หรือสัมผัสสารเคมีที่ทำลายรากผม ทั้งนี้ระยะการเจริญเติบโตของเส้นขนจะสั้นลงเมื่อเรามีอายุที่เพิ่มมากขึ้น

ระยะ Catagen (involution phase)

เป็นช่วงที่เส้นขนเริ่มชะลดการเติบโตลงจนกระทั่งหยุดการเจริญเติบโตไปในที่สุด ระยะนี้เส้นผมจะค่อยๆแยกตัวออกจากเซลล์รากผม โดยปกติใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์

ระยะ Telogen (quiescent phase)

เป็นช่วงที่เส้นขนจะอยู่ในช่วงพัก และมีการเจริญเติบโตอยู่ภายใต้หนังกำพร้า ทั้งนี้เส้นขนมีส่วนประกอบหลักคือโปรตีน 65-95% และมีไขมัน 25% ที่เหลือคือส่วนประกอบอื่นๆได้แก่ น้ำและแร่ธาตุ เราจึงควรบำรุงรากขนให้ดี ป้องการการอักเสบของรูขุมขนจากสารเคมี หรืออาการระเคืองจากสิ่งต่างๆ ซึ่งอาจทำให้เส้นขนไม่สามารถงอกพ้นหนังกำพร้าออกมาได้ เกิดเส้นขนคุด และเป็นหนองใต้ผิวหนัง

ดังนั้นการกำจัดขนเราจึงควรกำจัดในช่วง Anagen จึงจะเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด เพราะการกำจัดขนที่ยังไม่โตเต็มที่และอยู่ชิดบริเวณชั้นผิวหนังอาจส่งผลกระทบต่อผิวหนังได้

วิธีในการกำจัดขนมี 2 แบบให้เลือกพิจารณา

การกำจัดขนด้วยตนเอง

ได้แก่ การถอน การโกน การแว๊กซ์ ทั้งนี้การโกนเป็นวิธีที่ง่ายไม่ส่งผลเสียต่อสภาพผิวมากที่สุด หากแต่เป็นวิธีที่ขนสามารถกลับมาขึ้นได้เร็ว และแข็งกว่าเดิม ส่วนการถอนและการแว๊กซ์นั้น ทำให้ขนขึ้นช้าลงเพราะเป็นการดึงรากขนออกมาด้วย ในทางกลับกันก็ทำลายสภาพพื้นผิวหนัง เกิดอาการระคายเคืองและการอักเสบของรูขุมขนได้ง่ายยิ่งกว่า

การใช้เทคโนโลยีกำจัดขนที่อ่อนโยนต่อผิว

วิธีนี้หากทำโดยแพทย์ผิวหนังที่เชี่ยวชาญย่อมส่งผลดี สามารถทำลายรากขนโดยไม่ระคายเคือง ขนที่ขึ้นใหม่เล็กและบางลงอย่างเห็นได้ชัด เทคโนโลยีดังกล่าว อาทิ Intense Pulsed Light (IPL) ซึ่งสามารถใช้ได้ทุกบริเวณของร่างกาย สามารถปรับระดับความยาวคลื่นให้เหมาะสมกับสีผิว และได้ผิวที่เรียบเนียนตามมา ซึ่งวิธีดังกล่าวควรทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ รวมถึงการทำ IPL ของ PiOne ที่มีแสง Xtensive Flash ที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของ PiOne ยังสามารถที่จะช่วยทำให้รูขมขนกระชับยิ่งขึ้น ไปพร้อมกับการจัดการกับวงจรของการเกิดขนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งยังเหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวบอบบางอีกด้วย เพราะการใช้ IPL กำจัดขนไม่ทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง

การกำจัดขนด้วย IPL เป็นวิธีการกำจัดขนถาวรที่สามารถกำจัดขนไปพร้อมกับการดูแลรักษาปัญหาผิวต่างๆไปพร้อมๆกัน ซึ่งจะแตกต่างกับ เลเซอร์กำจัดขน เพราะช่วงคลื่นที่แคบของเลเซอร์ไม่สามารถช่วยดูแลผิวขณะกำจัดขนได้ เจ็บกว่า และไม่สามารถทำต่อเนื่องได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *